เสียงแหบ ตะโกนจนเจ็บคอ เสียงเหมือนเป็นหวัด ภาษาอังกฤษคำว่าอะไร

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

เวลาที่เราพูดเป็นเวลานาน ๆ โดยเฉพาะการพูดเสียงดังมาก ๆ ตะโกนมาก ๆ อาจทำให้เราเกิดภาวะที่เสียงผิดปกติไปจากเดิมได้ หรืออาการเสียงแหบ  เมื่อเสียงเราเริ่มแหบ เสียงมักจะเบาลง หรือเสียงขาดหายเป็นช่วง ๆ  ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “hoarse” คำนี้ออกเสียงเป็นสระโอ ออกเป็น “โฮซ” เหมือนคำว่า horse (ม้า) แบบ British English ออกเสียงเป็นสระโอ ว่า “โฮซ”  

มาดูวิธีใช้คำว่า hoarse กันครับ  เราใช้คำนี้ในลักษณะที่เป็นคำคุณศัพท์ ดังนั้น เสียงที่แหบ เราเรียกว่า a hoarse voice ตามตัวอักษรเลย เพราะ voice คือ เสียง  ส่วน hoarse ไปขยายความหมายของ voice

บ่อยครั้งที่คนพูดจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองเสียงแหบ จะรู้ก็ต่อเมื่อมีคนทัก เช่น ผมบอกกับเพื่อนว่า You sound a little hoarse. (เสียงแกฟังแล้วแหบเล็กน้อยนะ) หรือ You sound very hoarse. (เสียงแกเนี่ยฟังแล้วโคตรแหบเลย) หรือ Your voice is hoarse. (เสียงของคุณมันแหบนะ)

They shouted themselves hoarse.

สาเหตุของอาการเสียงแหบที่พบบ่อย ก็คือ การไปใช้เสียงตะโกนจนเสียงแหบและเจ็บคอ  ในภาษาอังกฤษจะมีวิธีใช้คำว่า hoarse ที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว โดยนำมาใช้กับรูปของ reflexive pronoun (สรรพนามที่อ้างถึงตัวของประธานของประโยคเอง เช่น myself, himself, herself, themselves) ด้วยโครงสร้างประโยค  ประธาน + คำกริยา + reflexive pronoun + hoarse เช่น  I shouted myself hoarse. (ฉันได้ตะโกนจนเจ็บคอ เสียงแหบ) <> Don’t shout yourself hoarse. (อย่าตะโกนจนเจ็บคอ เสียงแหบ) … ผมเคยอธิบายเหตุผลที่ใช้ reflexive pronoun ในบริบทลักษณะนี้ ไปหาอ่านดูได้บนเพจและเว็บไซต์ครับ  

นอกจากการตะโกนที่ทำให้เสียงแหบแล้ว  อาการหวัด เป็นไข้ ก็ทำให้เสียงแหบได้เช่นกัน เช่น The flu made me a bit hoarse. (อาการไข้มันทำให้เสียงผมแหบเล็กน้อย)  <> The cold made my sound hoarse. (หวัดทำให้เสียงของผมแหบ)  …. บางครั้งคนที่เราคุยอยู่ เสียงเขาแหบจนเราต้องถามว่าเป็นหวัดหรือเป็นอะไรไหม เช่น You sound very hoarse. Do you have a cold? (เสียงแกแหบมาก แกเป็นหวัดหรือเปล่า)

บางครั้ง หัวเราะมากไปก็ทำให้เสียงแหบได้ เช่น Peter was hoarse from laughing. (ปีเตอร์เสียงแหบจากการหัวเราะ)   ขณะที่พูดมาก บ่นมากไป ก็ทำให้เสียงแหบได้เช่นกัน ลองดูตัวอย่างประโยค Bob complained so much at the bank that he went hoarse. (บ็อบคอมเพลนมากไปที่ธนาคารจนเสียงเขาแหบไปเลย) หรือบางคนเชียร์กีฬาจนเสียงแหบเสียงแห้ง เช่น The spectators cheered until they were hoarse. (คนดูเชียร์กันจนเสียงแหบ)

โพสต์นี้เขียนแล้วสนุกดี ผมอธิบายค่อนข้างครบถ้วนกับการใช้คำว่า hoarse

เนื้อหา: ไกรวัล ศรีประทักษ์

เว็บไซต์: www.library-lantern.com

Facebook เพจ: The library

Your reference library


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

Bloggers

About ไกรวัล
ทำงานกฎหมาย ร่าง เจรจาสัญญาธุรกิจระหว่างประเทศมานาน 15 ปี เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษและไวยากรณ์ขั้นสูงในงานกฎหมาย รอบรู้เรื่องเอกสารภาษาอังกฤษในงานธุรกิจ เรียบเรียงหนังสือเรียนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการมากกว่า 20 เล่ม เคยชนะเลิศอันดับหนึ่งการคัดเลือกหานักเขียนนิตยสาร I Get English เคยทำคะแนน TOEIC เต็ม 990 ทำ IELTS score 8 โดยเฉพาะ writing part และหนึ่งในสามคนไทยที่สอบได้ใบอนุญาตฟีฟ่าประกอบธุรกิจตัวแทนนักฟุตบอลทั่วโลกครั้งแรก ไกรวัลจบการศึกษาระดับปริญญาโท สาขา International Business (awarded with Distinction) จาก University of Wollongong และสาขาการเงิน จาก University of Newcastle